ติวสอบใบขับขี่ ตอนที่1

 

โดย กมล อรุณโชคสมศักดิ์

ถาม  :   เมื่อท่านพบป้ายข้อความ “เขตชุมชนลดความเร็ว” ท่านควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ  :  ทางข้างหน้าเป็นเขตชุมชนให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถและขับผ่านไปด้วยความระมัดระวัง

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทิศทางจราจร” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้ามเป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร แสดงให้ทราบว่าใกล้จะถึงเส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน ยกเว้นในกรณีที่ต้องการจะเลี้ยวขวาหรือแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น อาจจะข้ามเส้นดังกล่าวได้ด้วยความระมัดระวัง

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้ามเป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมโดยเด็ดขาด

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทิศทางจราจรคู่” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้าม เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร ห้ามผู้ขับรถที่อยู่ในทิศทางของเส้นทึบผ่านหรือคร่อมเส้นทึบโดยเด็ดขาด รถที่อยู่ในทิศทางของเส้นประอาจจะข้ามเส้นดังกล่าวนี้ได้ด้วยความระมัดระวัง

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทางจราจรห้ามแซงคู่” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้ามเป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานกันมีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมโดยเด็ดขาดทั้งสองทิศทาง

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย “เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ” หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถโดยทั่ว ๆ ไปเป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซ็นติเมตร ยาว 100 เซ้นติเมตร เว้นช่องห่าง 300 เซ็นติเมตร ให้ขับรถภายในช่องเดินรถ ห้ามขับคร่อมเส้นแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถ

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถเตือน" หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถประเภทเตือนเป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร แสดงให้ทราบว่าใกล้จะถึงเส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง ห้ามขับคร่อมเส้นช่องเดินรถ เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถ

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง" หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตรห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นแบ่งช่องเดินรถ ห้ามแซงโดยเด็ดขาด

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นขอบทาง" หมายความว่า เส้นแสดงแนวขอบทาง เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 60 เซนติเมตร ให้ขับรถในช่องจราจรด้านขวาของเส้นนั้น

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง" หมายความว่า เส้นแแบ่งช่องเดินรถที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถโดยสารประจำทาง หรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกำหนด เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ห้ามขับรถประเภทอื่นเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทางสามารถข้ามผ่านได้" หมายความว่า เส้นแแบ่งช่องเดินรถที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถโดยสารประจำทาง หรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกำหนด เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร รถประเภทอื่นอาจจะผ่านเส้นทางดังกล่าวนี้ได้ด้วยความระมัดระวัง

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นแนวหยุด" หมายความว่า เส้นขวางถนน เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นขวางทุกครั้ง และให้ดูจังหวะที่รถว่าง เมื่อไม่เป็นเหตุให้กีดขวางการจราจรและไม่เกิดอันตรายแล้วจึงให้ขับรถผ่านเส้นขวางไป

ถาม  :   เครื่องหมาย หมายความว่า
ตอบ  :  เครื่องหมาย "เส้นให้ทาง" หมายความว่า เส้นขวางถนน เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร ให้ขับรถให้ช้าลงแล้วดูความปลอดภัยจากรถอื่นและคนเดินเท้าในทางที่ขวางหน้า ให้รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้วจึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการขับรถปลอดภัยตอนที่9

เทคนิคการขับรถปลอดภัยตอนที่10

ติวสอบใบขับขี่ ตอนที่2